หน้าหลัก
ความหมาย
ของกินจังหวัดภูเก็ต
ของฝากจากทะเล
ของฝากจากภูเก็ต
ของที่ระลึก
ขอขอบพระคุณ
เกี่ยวกับเรา

 

 

 

 

Free Statistics Counters
Web Counter

 

ผ้าบาติก

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับผ้าบาติก

ความโดดเด่นของผ้าบาติกอยู่ที่สีและลวดลายอันคมชัดของภาพที่สามารถบอกอะไรได้หลายอย่างทั้งถิ่นที่มา วัฒนธรรม
ความเป็นอยู่ ธรรมชาติ เอกลักษณ์ของแหล่งผลิต หรือกระทั่งความรู้สึกนึกคิดของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีกรรมวิธี
ที่ซับซ้อนอยู่หลายกระบวนการทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี 
บาติกจึงมีลักษณะที่เป็นได้ทั้งงานหัตถอุตสากรรมและงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการเขียนลวดลายตามที่ผู้ผลิต
ต้องการลงบนผืนผ้าด้วยดินสอแล้วใช้ปากกาเขียนเทียนจันติ้ง (janting) จุ่มน้ำเทียนเขียนไปตามลวดลายเพื่อให้น้ำเทียนนี้
เป็นแนวป้องกันน้ำสีไม่ให้ซึมผ่านถึงกัน ซึ่งน้ำเทียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องซึมผ่านทะลุทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผืน
ผ้าบาติกโดยไม่ให้เกิดช่องว่างขึ้นจากนั้นจึงทำให้เกิดลวดลาย โดยวิธีการเพ้นท์สีหรือย้อมสีตามแต่กรณีสีบนผืนผ้าจะต้องซึม
การดูแลรักษาผ้าบาติก การดูแลรักษาผ้าบาติก
เนื่องจากผ้าบาติกเป็นลายเขียนด้วยมือ จึงต้องมีการดูแลรักษาผ้าบาติกเป็นอย่างดีเพื่อให้ผ้ามีความสดดังวิธีต่อไปนี้
การซักผ้าบาติก 
ควรซักด้วยน้ำยาซักแห้งชนิดอ่อน ไม่แนะนำให้ซักด้วยเครื่องซักผ้าเพราะจะทำให้ผ้ายับมากและรีดยาก ควรซักผ้าบาติก
ด้วยมือด้วยความนุ่มนวล และไม่ควรขยี้หรือบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ผ้าเสียทรง หากนำผ้าบาติกลงน้ำแล้วไม่ควรแช่ใว้
นานโดยเฉพาะผ้าสีสด เช่น สีม่วง สีแดงสด สีชมพูสด สีบานเย็น หลังจากซักเสร็จแล้วควรสลัดผ้าบาติกให้คลายตัวและไม่
ย่นก่อนนำไปตากเมื่อผ้าแห้งจะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่ายขึ้น
การตากผ้าบาติก
ควรตากในที่ร่มหรือแดดอ่อนๆ เพื่อป้องกันสีซีดเนื่องจากถูกแดดจัด ก่อนตากควรสลัดให้ผ้าคลายตัวก่อนจะทำให้ง่ายต่อ
การรีดมากยิ่งขึ้น
 การรีดผ้าบาติก 
หลังจากผสมน้ำยารีดผ้าเรียบร้อยแล้วให้ฉีดพรมน้ำยาให้ทั่วทั้งตัว สำหรับผ้าบาติกทั่วไปให้ใช้ความร้อนตามที่เตารีดแต่ละ
ยี่ห้อกำหนด

ขั้นตอนการทำผ้าบาติก 

วัสดุที่ใช้ในการผลิต 

1. สี  มีทั้งหมด 3 สี  คือ  น้ำเงิน ม่วง แดง
2. เทียน  มีลักษณะเป็นก้อน  ใช้สำหรับเขียนลายเส้นเพื่อกั้นไม่ให้สีแต่ละสีปนกัน
3. น้ำยาเคลือบ  หรือ ไมโครพาราฟินน์แวกซ์  ชื่อเฉพาะคือ ซิลิเกต เป็นของเหลวมีลักษณะใสแต่
เหนียว   เวลาซื้อจะซื้อมาทั้งแกลลอน ใช้สำหรับเคลือบสีหลังจากระบายเสร็จแล้ว

4.   ผ้าฝ้าย หรือผ้าป่าน

เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
1. ชันติ้ง มีลักษณะคล้ายเทียนไข ด้ามทำด้วยไม้ ส่วนปลายมีลักษณะแหลมคล้ายปากกา  ทำด้วยทองเหลืองและมีกรวยที่มี
ปากแคบสำหรับใส่เทียน

2. พู่กันขนาดต่างๆ  ใช้สำหรับระบายสีลงบนลวดลายที่วาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

3. แปรงทาน้ำยาเคลือบ  ใช้แปรงทาสีที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด  และขันน้ำสำหรับใส่น้ำยาเคลือบ
4.  เฟรมไม้   มีลักษณะเป็นโครงไม้ ใช้สำหรับขึ้นผ้า
5. หม้อและเตาแก็ส  ใช้สำหรับละลายเทียนจากเดิมเป็นก้อนเทียน  จนเหลวจึงสามารถนำไปวาดบนผืนผ้าได้
6. ไม้พาย  มีด้ามสั้นเพื่อให้จับได้ถนัด  ใช้สำหรับกดผ้าให้จมน้ำในขณะที่ตั้งไฟให้เทียนละลาย
7. ดินสอ  ใช้สำหรับวาดลายเส้น

8. กรรไกร  ใช้สำหรับตัดผ้า

9. แก้วน้ำ  ใช้สำหรับใส่สีที่ผสมน้ำ

 
 

 

Google
Search WWW Search truehits.net
 

 

Free Web Hosting